
คุณถาพของดีมากๆ
ปลิงทะเล "sea cucumber"
ปลิงทะเล
ในภาษาอังกฤษเรียกว่า "sea cucumber" อยู่ใน Phylum Echinodermata และ Class Holothuroidea ซึ่งประกอบไปด้วยสัตว์
มากกว่า 1,000 ชนิด ซึ่งรวมทั้งเม่นทะเลและดาวทะเล ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของ Phylum นี้ คือ มีร่างกายสมมาตร ในเมืองไทย
พบว่ามีปลิงทะเลอยู่ 76 ชนิด Sangjindawong, 1980 รายงานถึงปลิงทะเลที่นิยมกินมีอยู่หกชนิด คือ Holothuria scabra, H. argus, H.marmorata,
H. arta, H. spinifera และ Stichopus variegatus
มากกว่า 1,000 ชนิด ซึ่งรวมทั้งเม่นทะเลและดาวทะเล ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของ Phylum นี้ คือ มีร่างกายสมมาตร ในเมืองไทย
พบว่ามีปลิงทะเลอยู่ 76 ชนิด Sangjindawong, 1980 รายงานถึงปลิงทะเลที่นิยมกินมีอยู่หกชนิด คือ Holothuria scabra, H. argus, H.marmorata,
H. arta, H. spinifera และ Stichopus variegatus
รูปร่างลักษณะ
มีรูปร่างทรงกระบอก ยาวคล้ายถุง ลำตัวอ่อนนุ่มยืดหดตัวได้ มีปากและช่องขับถ่ายอยู่ที่ปลายส่วนหัวและหาง รอบ ๆ
ปากมีหนวด (tentacles) มีลักษณะเป็นช่อสำหรับจับอาหาร ผิวตัวของปลิงทะเลอาจจะนุ่ม มีลักษณะบางโปร่งแสง หรือหนาทึบแสง บางชนิดผิวเรียบ
แต่ปกติมักจะมีปุ่มยื่นออกมาคล้ายหูด มีขนาดรูปร่างและสีสันแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด
ปากมีหนวด (tentacles) มีลักษณะเป็นช่อสำหรับจับอาหาร ผิวตัวของปลิงทะเลอาจจะนุ่ม มีลักษณะบางโปร่งแสง หรือหนาทึบแสง บางชนิดผิวเรียบ
แต่ปกติมักจะมีปุ่มยื่นออกมาคล้ายหูด มีขนาดรูปร่างและสีสันแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด
การกินอาหาร :
ปลิงทะเลกินอาหารพวกซากพืชและสัตว์ที่ทับถมอยู่หน้าดิน ตะกอนสารอินทรีย์เล็กๆ แบคทีเรียและสาหร่ายเล็กๆ
ซึ่งมีมากบนพื้นท้องทะเล จับอาหารโดยอาศัยเมือกเหนียว ซึ่งฉาบอยู่ตามผิวหนวด คอยดักอาหารที่ผ่านมากับน้ำ ปลิงทะเลยื่น tentacle เพื่อเก็บ
อาหารและลำเลียงสู่ปาก โดยปากของปลิงทะเลจะใช้กินอาหารอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งมีมากบนพื้นท้องทะเล จับอาหารโดยอาศัยเมือกเหนียว ซึ่งฉาบอยู่ตามผิวหนวด คอยดักอาหารที่ผ่านมากับน้ำ ปลิงทะเลยื่น tentacle เพื่อเก็บ
อาหารและลำเลียงสู่ปาก โดยปากของปลิงทะเลจะใช้กินอาหารอยู่ตลอดเวลา
ศัตรู
ในธรรมชาติศัตรูของมันก็คือปูและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ หากถูกรบกวนกลไกในการป้องกันตัวของปลิงทะเลก็คือใยสีขาวที่พ่นออกมา
ซึ่งเส้นใยเหล่านี้จะติดหนับแกะออกยากมาก
ซึ่งเส้นใยเหล่านี้จะติดหนับแกะออกยากมาก
การสืบพันธุ์ :
การผสมพันธุ์เป็นแบบผสมภายนอกและมีลักษณะแยกเพศ ด้วยการปล่อยไข่และสเปิร์มสู่มวลน้ำ ผสมกันได้ตัวอ่อนและ
ดำรงชีวิตเป็น plankton อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะลงสู่พื้นในทะเล มีเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถบิดตัวแยกออกจากกันแล้วเจริญขึ้นเป็นตัวใหม่ได้
ดำรงชีวิตเป็น plankton อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะลงสู่พื้นในทะเล มีเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถบิดตัวแยกออกจากกันแล้วเจริญขึ้นเป็นตัวใหม่ได้
ประโยชน์ :
ปลิงทะเลมีบทบาทที่สำคัญในระบบนิเวศ คือเป็นตัวย่อยสลายพวกสารอินทรีย์ในตะกอนและปล่อยสารอาหารคืนสู่ห่วงโซ่อาหาร
ที่มีการพูดถึงกันมากที่สุดคือ มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ส่วนมากนิยมนำไปปรุงเป็นอาหารจีน
ที่มีการพูดถึงกันมากที่สุดคือ มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ส่วนมากนิยมนำไปปรุงเป็นอาหารจีน
คุณค่าทางอาหาร
ปลิงทะเลมีโปรตีนประมาณ 10-12% ความชื้น 70-80% ไขมัน 0.002-0.04% และเนื้อปลิงทะเลยังมีสารมิวโคโปรตีนที่มี Chondroitin sulfurie acid คาดว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ โดยการช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้ดี
นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นพบว่า ในเนื้อปลิงทะเล Stichopus japonicus มีมิวโคโปรตีน (mucoprotein) ปริมาณสูงซึ่งมิวโคโปรตีนนั้น มีคอนดรอยติน ซัลฟุริค แอซิด (Chondroitin - sulfuric acid) อยู่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และจากการศึกษาในผู้สูงอายุยังพบว่า การที่กล้ามเนื้อไม่สามารถทำงานได้นั้น เนื่องจากปริมาณของคอนดรอยติน ซัลฟุริค แอซิด ลดลง ดังนั้นจึงอาจใช้เรื่องนี้เป็นเหตุผลอธิบายการที่ชาวจีนนิยมรับประทานปลิงทะเลกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ คอนดรอยติน ซัลฟุริค แอซิด ตามธรรมชาติมักอยู่ในสภาพมิวโคโปรตีน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ เช่น กระดูกอ่อน เอ็น และของเหลวที่หล่อลื่นตามข้อต่าง ๆ ดังนั้น การรับประทานปลิงทะเลก็นับว่าให้ประโยชน์แก่ร่างกายได้เช่นกัน
แหล่งที่พบ
ปลิงทะเลสามารถพบได้ทั่งสองฝั่งทะเลของประเทศไทยโดยอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลในระดับความลึก 20-30 เมตร
สามารพบได้ในบริเวณหาดทรายปนเลนหรือทรายล้วนๆ หรือตามบริเวณที่มีกระแสน้ำ ตามเกาะบริเวณปะการัง และสภาพน้ำทั่วไป โดยฝังตัวขุดรูอยู่ใน
โคลน ทราย หรืออาศัยอยู่ตามกอสาหร่ายทะเล
สามารพบได้ในบริเวณหาดทรายปนเลนหรือทรายล้วนๆ หรือตามบริเวณที่มีกระแสน้ำ ตามเกาะบริเวณปะการัง และสภาพน้ำทั่วไป โดยฝังตัวขุดรูอยู่ใน
โคลน ทราย หรืออาศัยอยู่ตามกอสาหร่ายทะเล
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
คุณขุมทรัพย์ นุกูล
โทร...
085-0385156 Dtac
090-8707395 AIS
087-7898164 true move
pasu99@gmail.com
Somjai208@gmail.com
สนใจสั่งซื้อ / แจ้งรายละเอียดที่อยู่ /โอนเงินเข้าบัญชี
ธนาคารกรุงไทย / สาขาตลาดหัวอิฐ
เลขที่บัญชี 816-0-19116-2
ชื่อบัญชี ขุมทรัพย์ นุกูล
..............................................................................................
กสิกรไทย / สาขาตลาดหัวอิ
เลขที่บัญชี 326-2-31333-5
ชื่อบัญชีคุณขุมทรัพย์ นุกูล
……………………………………….
นัดรับสินค้า หรือ / จัดส่งสินค้าด้วยความรวดเร็วทันใจไว้วางใจได้

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น